เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
น.ส.ปวีณา อนงค์นุช รหัส 51112517056 คณะ โรงเรียนการเรือน เอก คหกรรมศาสตร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ตอนเรียน U1

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 10 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

          
ความหมายของนวัตกรรม
            บางครั้งอาจจะมีความสับสนในการใช้ความหมายระหว่างคำว่า นวัตกรรม และ ประดิษฐกรรม ตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นนักวิจัยและพัฒนาที่ทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถนำความคิดเหล่านั้นไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในโลกของความเป็นจริงได้
          นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษในโลกของอนาคตนั้นจะมีรูปแบบห้องเรียนเสมียน คือ ห้องเรียนไร้กำแพง อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จำเป็นจะต้องใช้วัตนกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศหลายอย่างบูรณาอนาคตกับการทำงานและการใช้ข้อมูลข่าวสาร
  รูปแบบของการทำงานในอนาคตนั้นจะเน้นการทำงานบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูล สารสนเทศและความรู้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่อนาคตในโลกของการทำงานบนพื้นฐานของความเป็นจริง หากเรามองภาพในอนาคตจะพบว่า โลกของอนาคตนั้นจะเป็นการรวมตัวของการสื่อสารทุกชนิดไว้เป็นหนึ่งเดียว เช่น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตรวมกับเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะมีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) สำหรับการติดต่อสือสารด้วย Internet Broadband ไว้เกือบทุกๆ ที่

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม และทำให้ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น
            การพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เป็นการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อเสื้อผ้า บริการ การโฆษณาสินค้า การชำระเงิน การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งสินค้า เป็นต้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยี      อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์  เป็นการสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อเป้าหมายสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไปสถานภาพของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยประกอบด้วยการใช้เทคโนโลยีในสำนักงาน การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต การใช้เทคโนโลยีในขั้นตอนการขนส่งและการตลาด
การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์   เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการจัดระบบการศึกษา  เป็นการทำงานตามขั้นตอน เป็นไปอย่างอัตโนมัตจนเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย สังคมอิเล็กทรอนิกส์   ยุทธศาสตร์ของ e – Society ได้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักการและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ส่งเสริมการพัฒนาระบบพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง โดยเฉพาะการพัฒนาการเกษตรและธุรกิจการเกษตรครบวงจร ทั้งนี้จะได้มีโอกาศสร้างความพอเพียงและทั่วถึงในความเป็นอยู่

บทที 8 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ    จริยธรรม หมายถึง ความพึงประพฤปฏิบัติตามค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยใช้วิชาจริยศาสตร์ศึกษาพฤติกรรมด้านคุณค่า สามารถวิเคราะห์ค่านิยมที่เป็นคู่กัน สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดีควรกระทำ และสิ่งใดควรละเว้น  อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีการนิยามไว้หลากหลาย เช่น
      การกระทำใดๆ ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาประกอบการากรทำความผิดและต้องมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในการสืบสวน ติดตาม รวบรวมหลักฐานเพื่อที่จะดำเนินคดี สรุปความหมายคำว่า อาชญากรทางคอมพิวเตอร์ คือบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี แต่นำความรู้ ความเชี่ยวชาญนั้นไปใช้ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
แฮกเกอร์ และแครกเกอร์
            แฮกเกอร์ (Hacker) คือผู้ที่มีความชำนาญ และเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีมีความสนใจในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก และชอบทดสอบความรู้ใหม่ๆ หรือความชำนาญ โดยการเจาะระบบต่างๆเพื่อความสนุกสนานและการเรียนรู้ แต่ไม่ได้เข้าไปทำลายระบบ ซึ่งแฮกเกอร์มักเป็นผู้ที่ค้นพบช่องโหว่ หรือข้อผิดพลาดของระบบ
            แครกเกอร์ (Cracker) คือผู้ที่มีเจตนาร้ายทำการเจาะ บุกรุกระบบ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์คนอื่นเพื่อเข้าไปทำลาย ขโมยข้อมูล สร้างความปั่นป่วนให้กับองค์กรที่เข้าไปก่อกวน
การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่รูปแบบพื้นฐานที่พบเจอบ่อย ที่สุดจำพวกไวรัส ไปจนถึงการใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงบุคคลอื่น

บทที่ 7 เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการความรู้

โลกยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ปัจจุบันความรู้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในทุกด้านส่งผลให้การศึกษา เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการองค์ความรู้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของความรู้ และการจัดการความรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการจัดการความรู้ยิ่งขึ้น
ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา
            คำว่า ข้อมูล สารสนเทศ และปัญญา เป็นคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่ก็เป็นที่มาซึ่งกันและกันผู้ที่ศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคงพอสรุปได้ว่าข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลข่าวสาร เป็นข้อความ ตัวเลข ภาพ และเสียงหรือเป็นมัลติมีเดีย เมื่อผ่านการวิเคราะห์สังเคราะห์และประมวลผลจึงกลายเป็นสารสนเทศ
            การศึกษากระบวนการจัดการความรู้เป็นการศึกษาถึงวงจรที่เกิดความรู้ โดยเริ่มตั้งแต่ความต้องการรู้ การรวบรวมหรือสร้างความรู้ แล้วนำความรู้มาจัดแบ่งประเภทเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการใช้ความรู้อย่างเต็มศักยภาพของบุคคลในองค์กร  การใช้ความรู้เป็นปัจจัยกำหนดยุทธศาสตร์การแข่งขันให้เกิดความมั่งคั่งทางปัญญาถือเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญในการดำเนินงาน ทั้งภาครัฐบาลและภาค
            ยุคสังคมเศรษฐกิจความรู้ให้ความสำคัญแก่ความรู้ที่อยู่ในตัวมนุษย์ ความรู้ทางเทคโนโลยี และความรู้ทางด้านวิทยากรต่างๆ เป็นปัจจัยหลังของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาความรู้ใหม่ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนของการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการจ้างงานในระยะยาว

บทที่ 6 การจัดการสารสนเทศและระบบสารสนเทศ

        ความสำคัญของระบบสารสนเทศ   ปัจจุบันมักจะพูดถึงระบบสารสนเทศกันมาก การดำเนินงานเกิอบทุกขั้นตอนจะต้องมีสารสนเทศเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเช่น ร้านค้าขายสินค้าก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการขาย เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่นำมาใช้สร้างสารสนเทศ สารสนเทศต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้จัดการรู้ว่าการขายสินค้าเป็นอย่างไร สินค้าอะไรขายดี มีจำนวนสินค้าคงเหลือในร้านเท่าไร จะต้องสั่งสินค้าเพื่อเมื่อไร
            ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศ (Information System) มักเตรียมได้จากระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียก ระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ (CBIS : Computer-based Information System) ซึ่งก็คือ ระบบสารสนเทศที่ได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล ประมวลผลและส่งผลลัพธ์ออกมาและทำการประเมินผลสารสนเทศที่ได้เพื่อนำผลย้อนกลับมาปรับปรุงข้อมูลที่รับเข้าเพื่อให้ได้สารสนเทศตามที่องค์กรต้องการ
บุคคลที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้แก่
1.             ผู้ใช้ระบบ (Users)
2.             นักวิเคราะห์ระบบ (SA : System Analyst)
3.             นักออกแบบระบบ (SD : System Designer)
4.             โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

บทที่ 5 ฐานข้อมูลกับการสืบค้น

            ฐานข้อมูลคือ การรวบรวมข้อมูลที่เราต้องการจะจัดเก็บ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในการใช้งาน ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ข้อมูลเป็นตัวอักขระหรือข้อความข้อมูลเชิงจำนวน ข้อมูลวันที่ ข้อมูลภาพ และข้อมูลเสียง เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล  ระบบฐานข้อมูลประกอบด้วยส่วนสำคัญหลักๆ 5 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟด์แวร์ ข้อมูลกระบวนการทำงาน และบุคคลากร        ประโยชน์ของฐานข้อมูล   เมื่อมีการนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลแก้ไข ปรับปรุงข้อมูล ค้นหาข้อมูล รวมทั้งกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูล ทำให้ฐานข้อมูลมีข้อดีมากมาย
รูปแบบของฐานข้อมูล   หลายหน่วยงานมีฐานข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ หรือสั่งซื้อฐานข้อมูลมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศในด้านต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งฐานข้อมูลที่มีให้บริการเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศในด้านต่างๆ ได้ตามความต้องการซึ่งฐานข้อมูลที่มีให้บริการ
      การสืบค้นคือ การค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ กลับคืนมาด้วยวิธีการและเทคนิคอย่างเป็นขั้นตอนโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้
            การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่กว้างขวางอย่างรวดเร็วโดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ สามารถดำเนินการได้จากทุกมุมโลก โดยผ่านเว็บไซต์ของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายฐานข้อมูลโดยมีวิธีการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลกฤตภาค ฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศของสถาบันบริการสารสนเทศ และฐานข้อมูลทั่วไปในอินเทอร์เน็ต

บทที่ 4 อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อถึงกันทั่วโลกลักษณะเสมือนใยแมงมุม โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียว แต่ละจุดที่เชื่อมต่อกันอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางโดยไม่กำหนดตายตัว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้
            ระบบโครงสร้างของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยนั้น ประกอบด้วย
1.             ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการสื่อสารข้อมูลในประเทศไทยและต่างประเทศ
2.             ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะกำหนดหมายเลขโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ ให้รหัสผู้ใช้ (User Name)
         และ      รหัสผ่าน (Password) แก่ผู้ใช้บริการ
3.             ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
     
3.1 ผู้ใช้ส่วนบุคคลหรือผู้ใช้ในครัวเรือน
          3.2 ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในรูปแบบองค์กร
หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต  เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์จากแหล่งต่างๆจากทั่วโลก เพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีชนิดต่างกัน จึงได้มีการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากันกับระบบอินเทอร์เน็ต
ไอพีแอดเดรส ในการใช้งานภายใต้มาตรฐาน TCP/IP เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อใช้อ้างอิงในการติดต่อกับเคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ